: 081-684-6528 / 086-412-3832

แนวทางแนะนำสำหรับการจัดเก็บนมแม่ในสต๊อก

บทความต่อไปนี้ แปลและดัดแปลงมาจาก Western States Contracting Alliance (WSCA) for the women enfant children Program ซึ่งได้ให้แนวทางกว้าง ๆ ในการจัดเก็บนมแม่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขอให้ทำความเข้าใจแนวทางแนะนำนี้เป็นเพียงแนวทางกว้าง ๆ ที่คุณแม่แตะละท่านจะต้องพิจารณาความเหมาะสม เนื่องจากหลาย ๆ ครั้งที่เราหาข้อมูลในเรื่องการจัดเก็บนมแม่ ก็จะพบว่า คำแนะนำมักจะแตกต่างกันไป เพราะทุก ๆ ที่ก็ได้ให้เพียงคำแนะนำคร่าว ๆ กว้าง ๆ ไม่สามารถจะชี้ชัดลงไปได้ว่า จัดเก็บด้วยอุปกรณ์แบบนี้ จะได้เป็นเวลานานเท่านี้ 

หากจะพิจารณาหาเหตุผลว่าทำไมแต่ละที่ให้แนวทางแนะนำที่แตกต่างกันมากนัก เอาง่าย ๆ ที่ชัดเจนที่สุดคือ แม้จะเป็นตู้แช่แบบเดียวกัน การใช้งานตู้แช่ของแต่ละบ้านก็จะแตกต่างกัน การเปิด ๆ ปิด ๆ ตู้เย็นในแต่ละวันไม่เท่ากัน ทำให้การสูญเสียความเย็นและการรักษาอุณหภูมิก็จะแตกต่างกันไป สำหรับตารางที่จะนำเสนอต่อไปนี้ เป็นข้อมูลที่มีพื้นฐานอยู่บนสภาพภูมิอากาศของตะวันตก ซึ่งมีความหนาวเย็นมากกว่าบ้านเรา ดังนั้น จึงควรใช้แนวทางต่อไปนี้เป็นเพียงแนวทางกว้าง ๆ ระยะเวลาในการจัดเก็บจริง อาจจะสั้นลงกว่าที่ระบุค่ะ


สถานที่จัดเก็บ

วางบนโต๊ะ หรือเคาน์เตอร์

ในตู้เย็น      

ช่องแช่แข็งของ

ตู้เย็นสองประตู 

ช่องแช่แข็งของ

ตู้เย็นประตูเดียว   

ภาชนะเก็บ

ความเย็นที่มี

น้ำแข็งเทียม

ช่วงอุณหภูมิ 

16-29 C

4 C                  

-4 C

-15 C

15 C

นมแม่จากการปั๊มเสร็จใหม่ ๆ

5 ชั่วโมง

5 วัน

5-6 เดือน

2 สัปดาห์

24 ชั่วโมง

มแม่จากการปั๊มเสร็จใหม่ ๆจาก

สถานที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค

และมีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น

นานสูงสุด 8 ชั่วโมง

นานสูงสุด 8 วัน

8-12 เดือน        

2 สัปดาห์

24 ชั่วโมง

นมที่นำมาอุ่นแล้ว

1-2 ชั่วโมง

24 ชั่วโมง

ห้ามนำมาแช่ใหม่

ห้ามนำมาแช่ใหม่

ไม่แนะนำให้จัดเก็บ

นมที่นำมาอุ่นแล้วจากสถานที่

สะอาดปราศจากเชื้อโรคและ

มีอุณหภูมิค่อนข้างเย็น

3-4 ชั่วโมง

24 ชั่วโมง

ห้ามนำมาแช่ใหม่

ห้ามนำมาแช่ใหม่

ไม่แนะนำให่จัดเก็บ

แนวทางนี้เป็นแนวทางที่ออกแบบสำหรับทารกที่ครบกำหนดคลอด หรือใกล้ครบกำหนดคลอด หากพิจารณาจะเห็นว่า ในสถานที่จัดเก็บที่สะอาดและมีอุณหภูมิสูง ๆ จะสามารถเก็บน้ำนมแม่ได้ยาวนานกว่า ดังนั้น สำหรับบ้านที่มีตู้เย็นแบบสองประตู และไม่ได้แช่นมแม่รวมกับอาหารอื่นใด และไม่ได้เปิดใช้งานบ่อย ๆ ระยะเวลาในการเก็บรักษานมแม่ก็จะได้นานกว่าตู้ที่แช่รวมกับอาหารอื่นและเปิดใช้งานบ่อย ๆ นั่นเอง


ขอบคุณค่ะ,
แม่ปู - MamyKiddy - O81 684 6S28
www.mamykiddy.com

** mamykiddy.com สงวนลิขสิทธิ์ของเนื้อหาใน website ตามกฎหมาย **
ห้ามมิให้ผู้ใดลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดเผยแพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

โพสต์โดย admin