: 081-684-6528 / 086-412-3832

เข้าใจมารดา ทารก และน้ำนม

หลังคลอดร่างกายและจิตใจของมารดาจะการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายอย่าง ทั้งความกังวล ความเครียด  ความเหนื่อยล้าจากการคลอด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบกับน้ำนมแทบทั้งสิ้น ดังนั้นคุณแม่หลายคนอาจจะเริ่มกังวลหนักเข้าไปอีก ว่า ตนเองไม่มีน้ำนมให้ลูกทาน ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมกันนะคะ


 ช่วงเวลา

น้ำนม

ทารก

มารดา

แรกเกิด


ร่างกายจะสร้าง colostum (น้ำนมเหลือง) ที่มีลักษณะเหลือง ข้นออกมาจำนวนหนึ่ง แต่จำนวนที่ไม่มากนี้เป็นสวนสำคัญที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อโรคต่าง ๆ แก่ทารก หรือเรียกได้ว่าเป็นวัคซีนแรกเลยนะคะ

ทารกโดยมากจะตื่นตัวในช่วงชั่วโมงแรก ๆ ที่คลอดออกมา จึงเป็นเวลาที่เหมาะกับการให้นมจากเต้า เพื่อให้ทารกดูดนมมารดาให้เร็วที่สุด เป็นการกระตุ้นน้ำนมอีกทางหนึ่งค่ะ

เหนื่อยอ่อนจากการคลอดบุตร  และตื่นเต้นกับบทบาทใหม่ ชีวิตใหม่ อาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการเลี้ยงดูทารกอยู่บ้าง

12-24 ชั่วโมงแรก

ทารกจะทานน้ำนมเหลืองประมาณ 1 ช้อนชา ต่อการทานนมหนึ่งครั้ง บางทีคุณแม่อาจจะไม่เห็นน้ำนมเหลืองนี้ แต่น้ำนมส่วนนี้ให้สารอาหารที่ทารกต้องการครบถ้วนทีเดียว

ทารกจะนอนเยอะ เพราะเหนื่อยอ่อนกับการคลอด ทารก หลายคนจะเอาแต่นอน และไม่สนใจที่จะทานนมเลยด้วยซ้ำ การให้นมนช่วงนี้จึงอาจจะเป็นการทานช่วงสั้น ๆ ดูดแป๊บ ๆ เลิก หลับต่อ และไม่เป็นเวลา ดังนั้นเมื่อทารกตื่นให้รีบให้นมทารกซึ่งมักเป็นทุก1-2 ชม

ยังคงเหนื่อยอ่อน ควรพักผ่อนให้เต็มที่


3-5 วันถัดมา

น้ำนมสีขาวเริ่มผลิตออกมา บางครั้งอาจจะมีสีเหลืองอ่อน ๆ ได้ หากน้ำนมยังไม่มาในช่วงนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ พยาบาลได้


ทารกจะทานมากขึ้น ให้ทารกทานนมจากเต้าบ่อย ๆ จะดีต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนม ทารกอาจจะทานนมบ่อยถึง 8-12 ครั้งหรือมากกว่านั้นใน 24 ชม  โดยมากทารกยังทานนมไม่เป็นเวลา และนมแม่ก็จะย่อยง่ายกว่านมผสม ทำให้ทารกทานนมบ่อยและมากกว่า จึงป็นเรื่องปกติที่ทารกอาจจะทานนม ทุก 2-3 ชม แล้วก็หลับต่ออีก 3-4 ชม คุณแม่ควรให้นมทารกข้างละ 15-20 นาที เพื่อให้ทารกได้น้ำนมครบถ้วนทั้งสองส่วน บางครั้งคุณแม่อาจจะได้ยินเสียงกลืนด้วยนะคะ

ร่างกายเริ่มผลิตน้ำนม อาจจะมีอาการคัดตึง และน้ำนมไหลซึมออกมา

4-6 สัปดาห์ต่อมา

มีน้ำนมสีขาวเพื่อทารก

ทารกจะดูดนมได้ดีขึ้นมาก และมีขนาดท้องที่ใหญ่ขึ้น จุน้ำนมได้มากขึ้น การทานนมจึงอาจจะใช้เวลาน้อยลง และห่างขึ้น

ร่างกายปรับตัวได้ เต้านมจะนุ่มขึ้นและการไหลซึมของน้ำนมลดลง


ถึงตอนนี้ คุณแม่คงเข้าใจกลไกต่าง ๆ ได้มากขึ้นแล้วนะคะ  ดังนั้นหากน้ำนมยังไม่มาในช่วงวันแรก จงอย่าได้กังวล เพราะทารกจะสามารถอยู่ได้โดยไม่ทานอะไรเลยในช่วงวันแรก ๆ และจะค่อย ๆ ปรับตัวเองค่ะ ถ้าทารกยังไม่พร้อมดูดนม และเต้านมคัดตึงแล้ว คุณแม่ลองใช้เครื่องปั๊มนม หรือที่ปั๊มนมช่วยปั๊มน้ำนมออกมาเพื่อลดอาการคัดตึง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้อย่างดีอีกทางหนึ่งด้วยนะคะ


แม่ปู - MamyKiddy- 081-684-6528
www.mamykiddy.com

**mamykiddy.comสงวนลิขสิทธิ์ของเนื้อหาใน website ตามกฎหมาย **
ห้ามมิให้ผู้ใดลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมดเผยแพร่ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

โพสต์โดย admin


0 ความเห็นถึง "เข้าใจมารดา ทารก และน้ำนม"

เขียนความเห็น

ชื่อของคุณ:
 
ความคิดเห็นของคุณ:
Note: โค้ด HTML จะไม่ถูกแปลง