: 081-684-6528 / 086-412-3832

นมแม่ และปัญหาเกี่ยวกับการให้นมแม่


การจัดเก็บนมแม่ เป็นอีกเรื่องที่ต้องเตรียมการ เพราะเมื่อมีการเก็บสต๊อกนมออกมาแล้ว การจัดเก็บนมแม่สำหรับให้น้องทานในอนาคตก็สำคัญไม่แพ้กันข้อควรปฏิบัติก่อนการปั๊มนม1. ล้างมือให้สะอาดก่อนการปั๊ม / บีบน้ำนม ทำความสะอาดอุปกรณ์ท่ใช้ในการปั๊ม ความสะอาดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะช่วยให้นมแม่ที่ได้มาไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรกใด ๆ 2. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บน้ำนม อาจจะเป็นถุงเก็บนมแม่ หรือขวดนมที่ปราศจากสาร BPA ที่มีฝาปิดแน่นหนา เพื่อป้องกันกลิ่นที่มารบกวน3. แนะนำให้ใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ หรือที่เรียกกันว่า ถุงนมแม่ ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะ เพราะจะมีเนื้อพลาสติกที่แตกต่างจากถุงทั่วไป และผ่านขั้นตอน..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
ในระหว่างการตั้งครรภ์ การดูแลสุขภาพของทารก สำคัญไม่น้อยไปกว่าการดูแลของตัวคุณแม่เอง อาหารที่คุณแม่รับประทานในแต่ละวัน เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของทารกที่กำลังจะคลอดออกได้อย่างดี ดังนั้น คุณแม่จึงต้องใส่ใจในอาหารที่รับประทานในแต่ละวันด้วยเพราะ ในแต่ละวัน เรารับประทานอาหารกันอย่างน้อย 3 มื้อ  อาหารประจำวันจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ใหญ่กว่าเดิม จากเดิมที่แต่ละมื้อ เมื่อถามว่า ทานอะไรดี อาการยอดฮิตที่จะได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ "อะไรก็ได้" แต่เมื่อมีอีกหนึ่งชีวิตน้อย ๆ หัวใจน้อย ๆ มาเต้นอยู่ในตัว "อะไรก็ได้" จึงไม่ใช่อะไรก็ได้จริง ๆ อีกแล้วหลัก ๆ แล้วอาหารที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง คือ อาหารจำพวกแป้ง แต่ให้ท..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
ในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ คุณแม่สามารถเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ได้ ทั้งในเรื่องของสุขภาพ ร่างกาย  และจิตใจ ในส่วนของร่างกาย ส่วนหนึ่งที่ควรได้รับการดูแลคือ หัวนม ถ้าคุณแม่มีความประสงค์จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ความพร้อมของหัวนมจึงเป็นสิ่งที่สามารถเตรียมการได้ เนื่องจากสภาพกายภาพของเต้านมมารดาแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนเล็ก บางคนใหญ่ บางคนสั้น บางคนยาว หรือบางคนไม่มีเลย คุณแม่บางคนอาจจะเกิดอาการท้อ ตั้งแต่ยังไม่เริ่มด้วยซ้ำว่า ตนเองไม่สามารถให้นมลูกได้ เพราะหัวนมบอด หัวนมแบน หัวนมสั้น  แม่ปูอยากบอกว่า อย่าเพิ่งตกใจ ปัญหาเหล่านี้แก้ได้ อย่้าให้เรื่องแค่นี้เป็นอุปสรรคค่ะ เพราะสิ่ง..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
คุณแม่มือใหม่ที่เป็นคุณแม่ทำงาน อาจจะเคยสงสัยว่า ทำอย่างไรฉันจะให้นมแม่ได้นาน ๆ หนอ เพราะลาคลอดได้แค่ 90 วัน ซ้ำร้ายบางที่ 60 วัน ก็มี (แม่ปูก็คนหนึ่งล่ะ ที่เจ้านายขอให้ลาแค่ 60 วัน ตอนคลอดลูกคนที่ 2 เพราะกลัวงานไม่มีคนทำ ><' เราก็ยอมนะ เพราะชอบทำงาน ทั้งที่ตอนคลอดก็ทำงานที่บ้านตลอดช่วงเวลาการลาคลอด ดังนั้นลาต่ออีก 30 วันก็ไม่น่าจะใช่ปัญหาเล๊ยยย) จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ หลายคนก็สงสัยว่า เมื่อไม่ให้อยู่กับลูก แล้วจะให้นมแม่ได้อย่างไรกันล่ะเนี่ยะไม่ยากเลยค่ะ ปัญหานี้ แก้ได้ใน 3 คำค่ะ ปั๊ม เก็บ ใช้ หรือ บีบ เก็บ ใช้ ก็ได้ค่ะ ง่ายจริง ๆ ใช่ไม๊คะ1. ปั๊ม หรือ บีบ ก็คือการปั๊มนม / ก..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
หลาย ๆ ครอบครัวพอเริ่มตั้งครรภ์ก็เริ่มเตรียมรายการของใช้จนเต็มบ้าน รายการยาวเป็นหางว่าว โน่น นี่ นั่น พอคลอดลูกแล้วก็เริ่มใช้สิ่งของในรายการที่ลิสต์ไว้ บางอย่างก็ได้ใช้จนคุ้ม (A Must)  บางอย่างก็แทบไม่ได้ใช้เลย (Nice to have) บางอย่างก็มารู้ว่าจริง ๆ แล้วใช้อย่างอื่นทดแทนได้ ในราคาที่ย่อมลงได้นี่นา แล้วเครื่องปั๊มนมล่ะ จำเป็นไม๊? จะได้ใช้ไม๊? ใช้อย่างอื่นทดแทนกันได้ไม๊? แล้วถ้าต้องซื้อ จะซื้อแบบไหนดี เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าสองเต้า หรือเต้าเดียว หรือ ปั๊มมือดี ลองไล่ไปทีละคำตอบนะคะ จะได้ใช้ไม๊? อันนี้ขอตอบว่า ถ้ามีก็ได้ใช้ค่ะ แต่จะซื้อ หรือเช่าดี ต้องพิจารณาอีกครั้งใช้อ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
คุ้น ๆ กับชื่อ BPA กันใช่ไหมคะ ทำไมสินค้าในกลุ่มสินค้าสำหรับแม่และเด็ก เรื่อง BPA จึงเป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากมาย เพราะเจ้าสารนี้ มีอันตรายต่อมนุษย์ หากเกิดสะสมในร่างกายจำนวนมาก ๆ ในเด็กจึงอันตรายเข้าไปใหญ่ เพราะการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ยังไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ บ้างก็ว่าขวดนมลูกใช้ไป 6 เดือน 8 เดือนต้องเปลี่ยน เพราะไม่ปลอดภัย เลยพากันงงมาถึงเรื่องจานชามกันอีก ขวดนมที่ไม่ใช่ BPA free อย่างไรก็ไม่น่าใช้ตั้งแต่แรกแล้ว เพราะปริมาณการรั่วซึมของสารร้ายตัวนี้ ไม่เกี่ยวกับอายุการใช้งานแต่อย่างใด แต่เกี่ยวกับปริมาณความร้อน และระยะเวลาที่ได้รับความร้อนเท่านั้น กรณีของขวดนมที่เป็น Polycarbonate ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
อาหารสำหรับแม่ให้นมเป็นอะไรที่สับสนกันมานาน เพระาบางตำราว่าได้ บางตำราว่าไม่ได้ อันไหนล่ะที่ถูกต้อง โดยพื้นฐานแล้ว แม่ให้นมบุตรสามารถทานอาหารได้ทุกชนิด ภายใต้เงื่อนไขว่า ทานแล้วไม่มีผลต่อลูก อย่าเพิ่งทำหน้าฉงนนะคะ แม่ปูกำลังบอกว่า มันไม่มีรายการต้องห้าม หรือต้องทาน เป็นเรื่องเป็นราว แต่มันเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ต้องพึงสังเกตว่าทานอะไรแล้วลูกชอบ ทานอะไรแล้วลูกไม่ชอบ แต่ที่สำคัญคือ คุณแม่ควรทานอาหารให้ครบหมู่ เพื่อให้สารอารหารไปยังลูกรักครบหมู่ ทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นต้นปลาบางชนิดแม่จะทานได้แต่ก็ต้องจำกัดปริมาณการทาน เช่น ปลาทูน่า หรือปลาจำพวก Swordfish คือ ปลาจำพวกปากแหลม ๆ ยาว ๆ เช่น ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
ตอนที่เราเริ่มปั๊มนมครั้งแรกเคยงงไหมคะ เคยกังวลไหมคะ เริ่มยังไง ต้องทำอะไรบ้างเริ่มต้นที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ค่ะ ไม่ว่าคุณพ่อ คุณแม่จะได้เครื่องปั๊มนมมาจากที่ไหน มือหนึ่ง หรือมือสอง หรือแม้แต่เครื่องเช่า การทำความสะอาดเป็นเรื่องที่ห้ามมองข้าม ห้ามละเลย แม้ว่าสิ่งที่ได้มาจะดูดีสะอาดตาเพียงใด หลังการทำความสะอาด จึงนำมาใช้นะคะการปั๊มนมในครั้งแรก เราอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องปั๊ม หรือไม่รู้ใจกัน การปรับรอบการปั๊ม แรงปั๊ม ก็อาจจะยังไม่ใช่จังหวะของตัวเอง ก็ต้องค่อย ๆ ปรับกันไป อย่าใจร้อน ปั๊มครั้งแรก ๆ อาจจะไม่ได้น้ำนม รู้สึกว่าแรงปั๊มไม่มี อะไรก็ตาม ให้ค่อย ๆ หาสาเหตุ แล้วแก้ไขไป สาเหตุหลัก ๆ หากปั..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ พอดีเห็นว่าบทความนี้เขียนออกมาได้น่าสนใจ อ่านง่าย แตกประเด็นเป็นส่วน ๆ กันเลยทีเดียว แม่ปูเลยแปลมาให้อ่านกันนะคะ แปลรีบ ๆ draft เดียว แปลไปโพสต์ไป ภาษาอาจจะไม่สละสลวย ไว้ค่อยแก้เนอะสมอง ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีระดับสติปัญญา (IQ) สูงกว่า เนื่องจากคลอเรสโตรอลและไขมันต่าง ๆ ในนมแม่ (ซึ่งเหมาะสมกับมนุษย์ด้วยกันเอง) ช่วยสนับสนุนการเจริญเติยโตของเนื้อเนื่อสมองสายตา  ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีพัฒนาการทางการมองเห็นที่ดีกว่าหู ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีโอกาสติดเชื้อทางหู (หูอักเสบ) น้อยกว่า ช่องปาก ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีปัญหาเรื่องการจัดฟันน้อยกว่า นอกจากนี้กล้ามเน..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
วันนี้ จะมาว่าด้วยคำถามยอดฮิตอีกคำถาม สำหรับคุณแม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปให้นานที่สุด เริ่มปั๊มนมตอนไหนพอคลอดน้องเสร็จใหม่ ๆ อะไร ๆ ก็ยัง งง งง ไม่เข้าที่เข้าทาง ไหนจะเจ็บแผลคลอด ไหนจะญาติสนิท มิตรสหายมาเยี่ยม ไหนจะต้องปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่ ๆ แล้วยังต้องมากังวลเรื่องการให้นมน้องอีก คำถามแรกที่อดเกิดขึ้นมาไม่ได้คือ จะเริ่มปั๊มตอนไหน จะเริ่มยังไง จะต้องปั๊มนานเท่าไร เพราะคุณแม่หลายคน เตรียมเครื่องปั๊มไว้ตั้งแต่ก่อนคลอดกันเลย ซึ่งก็ต้องถือว่า เป็นคนที่เตรียมการได้รอบคอบดีมากนะคะมาตอบคำถามว่าเริ่มปั๊มตอนไหน แม่ปูแนะนำอย่างนี้ค่ะ คือเริ่มปั๊มได้เลย แต่อย่าไปคาดหวังกับปริมาณที่จะได้ออ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
แสดงผลตั้งแต่ 21 ถึง 30 รายการ จากทั้งหมด 53 รายการ (จำนวน 6 หน้า)