: 081-684-6528 / 086-412-3832

หัวข้อ

คุณแม่มือใหม่ที่เป็นคุณแม่ทำงาน อาจจะเคยสงสัยว่า ทำอย่างไรฉันจะให้นมแม่ได้นาน ๆ หนอ เพราะลาคลอดได้แค่ 90 วัน ซ้ำร้ายบางที่ 60 วัน ก็มี (แม่ปูก็คนหนึ่งล่ะ ที่เจ้านายขอให้ลาแค่ 60 วัน ตอนคลอดลูกคนที่ 2 เพราะกลัวงานไม่มีคนทำ ><' เราก็ยอมนะ เพราะชอบทำงาน ทั้งที่ตอนคลอดก็ทำงานที่บ้านตลอดช่วงเวลาการลาคลอด ดังนั้นลาต่ออีก 30 วันก็ไม่น่าจะใช่ปัญหาเล๊ยยย) จะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ หลายคนก็สงสัยว่า เมื่อไม่ให้อยู่กับลูก แล้วจะให้นมแม่ได้อย่างไรกันล่ะเนี่ยะไม่ยากเลยค่ะ ปัญหานี้ แก้ได้ใน 3 คำค่ะ ปั๊ม เก็บ ใช้ หรือ บีบ เก็บ ใช้ ก็ได้ค่ะ ง่ายจริง ๆ ใช่ไม๊คะ1. ปั๊ม หรือ บีบ ก็คือการปั๊มนม / ก..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
หลาย ๆ ครอบครัวพอเริ่มตั้งครรภ์ก็เริ่มเตรียมรายการของใช้จนเต็มบ้าน รายการยาวเป็นหางว่าว โน่น นี่ นั่น พอคลอดลูกแล้วก็เริ่มใช้สิ่งของในรายการที่ลิสต์ไว้ บางอย่างก็ได้ใช้จนคุ้ม (A Must)  บางอย่างก็แทบไม่ได้ใช้เลย (Nice to have) บางอย่างก็มารู้ว่าจริง ๆ แล้วใช้อย่างอื่นทดแทนได้ ในราคาที่ย่อมลงได้นี่นา แล้วเครื่องปั๊มนมล่ะ จำเป็นไม๊? จะได้ใช้ไม๊? ใช้อย่างอื่นทดแทนกันได้ไม๊? แล้วถ้าต้องซื้อ จะซื้อแบบไหนดี เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าสองเต้า หรือเต้าเดียว หรือ ปั๊มมือดี ลองไล่ไปทีละคำตอบนะคะ จะได้ใช้ไม๊? อันนี้ขอตอบว่า ถ้ามีก็ได้ใช้ค่ะ แต่จะซื้อ หรือเช่าดี ต้องพิจารณาอีกครั้งใช้อ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
คุ้น ๆ กับชื่อ BPA กันใช่ไหมคะ ทำไมสินค้าในกลุ่มสินค้าสำหรับแม่และเด็ก เรื่อง BPA จึงเป็นเรื่องที่พูดถึงกันมากมาย เพราะเจ้าสารนี้ มีอันตรายต่อมนุษย์ หากเกิดสะสมในร่างกายจำนวนมาก ๆ ในเด็กจึงอันตรายเข้าไปใหญ่ เพราะการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ยังไม่สมบูรณ์เท่าผู้ใหญ่ บ้างก็ว่าขวดนมลูกใช้ไป 6 เดือน 8 เดือนต้องเปลี่ยน เพราะไม่ปลอดภัย เลยพากันงงมาถึงเรื่องจานชามกันอีก ขวดนมที่ไม่ใช่ BPA free อย่างไรก็ไม่น่าใช้ตั้งแต่แรกแล้ว เพราะปริมาณการรั่วซึมของสารร้ายตัวนี้ ไม่เกี่ยวกับอายุการใช้งานแต่อย่างใด แต่เกี่ยวกับปริมาณความร้อน และระยะเวลาที่ได้รับความร้อนเท่านั้น กรณีของขวดนมที่เป็น Polycarbonate ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
อาหารสำหรับแม่ให้นมเป็นอะไรที่สับสนกันมานาน เพระาบางตำราว่าได้ บางตำราว่าไม่ได้ อันไหนล่ะที่ถูกต้อง โดยพื้นฐานแล้ว แม่ให้นมบุตรสามารถทานอาหารได้ทุกชนิด ภายใต้เงื่อนไขว่า ทานแล้วไม่มีผลต่อลูก อย่าเพิ่งทำหน้าฉงนนะคะ แม่ปูกำลังบอกว่า มันไม่มีรายการต้องห้าม หรือต้องทาน เป็นเรื่องเป็นราว แต่มันเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลที่ต้องพึงสังเกตว่าทานอะไรแล้วลูกชอบ ทานอะไรแล้วลูกไม่ชอบ แต่ที่สำคัญคือ คุณแม่ควรทานอาหารให้ครบหมู่ เพื่อให้สารอารหารไปยังลูกรักครบหมู่ ทานอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นต้นปลาบางชนิดแม่จะทานได้แต่ก็ต้องจำกัดปริมาณการทาน เช่น ปลาทูน่า หรือปลาจำพวก Swordfish คือ ปลาจำพวกปากแหลม ๆ ยาว ๆ เช่น ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
ตอนที่เราเริ่มปั๊มนมครั้งแรกเคยงงไหมคะ เคยกังวลไหมคะ เริ่มยังไง ต้องทำอะไรบ้างเริ่มต้นที่ทำความสะอาดอุปกรณ์ค่ะ ไม่ว่าคุณพ่อ คุณแม่จะได้เครื่องปั๊มนมมาจากที่ไหน มือหนึ่ง หรือมือสอง หรือแม้แต่เครื่องเช่า การทำความสะอาดเป็นเรื่องที่ห้ามมองข้าม ห้ามละเลย แม้ว่าสิ่งที่ได้มาจะดูดีสะอาดตาเพียงใด หลังการทำความสะอาด จึงนำมาใช้นะคะการปั๊มนมในครั้งแรก เราอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับเครื่องปั๊ม หรือไม่รู้ใจกัน การปรับรอบการปั๊ม แรงปั๊ม ก็อาจจะยังไม่ใช่จังหวะของตัวเอง ก็ต้องค่อย ๆ ปรับกันไป อย่าใจร้อน ปั๊มครั้งแรก ๆ อาจจะไม่ได้น้ำนม รู้สึกว่าแรงปั๊มไม่มี อะไรก็ตาม ให้ค่อย ๆ หาสาเหตุ แล้วแก้ไขไป สาเหตุหลัก ๆ หากปั..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
เรื่องเก่ามาเล่าใหม่ พอดีเห็นว่าบทความนี้เขียนออกมาได้น่าสนใจ อ่านง่าย แตกประเด็นเป็นส่วน ๆ กันเลยทีเดียว แม่ปูเลยแปลมาให้อ่านกันนะคะ แปลรีบ ๆ draft เดียว แปลไปโพสต์ไป ภาษาอาจจะไม่สละสลวย ไว้ค่อยแก้เนอะสมอง ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีระดับสติปัญญา (IQ) สูงกว่า เนื่องจากคลอเรสโตรอลและไขมันต่าง ๆ ในนมแม่ (ซึ่งเหมาะสมกับมนุษย์ด้วยกันเอง) ช่วยสนับสนุนการเจริญเติยโตของเนื้อเนื่อสมองสายตา  ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีพัฒนาการทางการมองเห็นที่ดีกว่าหู ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่มีโอกาสติดเชื้อทางหู (หูอักเสบ) น้อยกว่า ช่องปาก ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีปัญหาเรื่องการจัดฟันน้อยกว่า นอกจากนี้กล้ามเน..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
วันนี้ จะมาว่าด้วยคำถามยอดฮิตอีกคำถาม สำหรับคุณแม่ที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปให้นานที่สุด เริ่มปั๊มนมตอนไหนพอคลอดน้องเสร็จใหม่ ๆ อะไร ๆ ก็ยัง งง งง ไม่เข้าที่เข้าทาง ไหนจะเจ็บแผลคลอด ไหนจะญาติสนิท มิตรสหายมาเยี่ยม ไหนจะต้องปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่ ๆ แล้วยังต้องมากังวลเรื่องการให้นมน้องอีก คำถามแรกที่อดเกิดขึ้นมาไม่ได้คือ จะเริ่มปั๊มตอนไหน จะเริ่มยังไง จะต้องปั๊มนานเท่าไร เพราะคุณแม่หลายคน เตรียมเครื่องปั๊มไว้ตั้งแต่ก่อนคลอดกันเลย ซึ่งก็ต้องถือว่า เป็นคนที่เตรียมการได้รอบคอบดีมากนะคะมาตอบคำถามว่าเริ่มปั๊มตอนไหน แม่ปูแนะนำอย่างนี้ค่ะ คือเริ่มปั๊มได้เลย แต่อย่าไปคาดหวังกับปริมาณที่จะได้ออ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
พ่อเกี่ยวอะไรในการเลี้ยงลูกด้วนมแม่ โห... เกี่ยวอย่างแรงค่ะ  คนโดยมากเข้าใจและเชื่อว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นเรื่องของแม่กับลูกเท่านั้น คุณพ่อไม่เกี่ยวเพราะคุณพ่อไม่มีนมให้ลูกทาน ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมากนะคะ เพราะปัจจัยที่ทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวนั้น บทบาทของคุณพ่อความสำคัญอย่างมากทีเดียวในบรรดาลูกค้าจำนวนมากที่แม่ปูได้พบเห็นพูดคุย ต้องบอกว่าคุณแม่ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น 100% มีคุณพ่อที่เอาใจใส่ และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม้ว่าคุณพ่อจะไม่สามารถให้นมลูกได้ด้วยตนเอง แต่คุณพ่อก็สามารถแบ่งเบางานต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
นมแม่นอกจากมีประโยชน์มากมายต่อทารก และช่วยให้คุณแม่ลดน้ำหนักได้รวดเร็วขึ้นแล้ว นมแม่ยังมีประโยชน์ต่อตัวคุณแม่ที่ให้นมมารดากับทารกเองอีกอย่างมหาศาลทีเดียว ฮอร์โมนส์ที่หลั่งออกมาในคุณแม่ที่ให้นม ช่วยปรับขนาดของมดลูกให้เข้าสู่ภาวะปกติ หรือที่เราเรียกว่า มดลูกเข้าอู่  จะเห็นได้ว่า เมื่อเราให้นมแม่กับทารกหลังคลอดใหม่ ๆ น้ำคาวปลาจะถูกขับออกมาเยอะมากขึ้น เรียกได้ว่า คุณแม่สามารถรู้สึกได้เลยทีเดียวว่า ร่างกายกำลังขับน้ำคาวปลาออกมา ตามจังหวะการดูดของทารก การขับน้ำคาวปลาออกมา ช่วยให้มดลูกกระชับและเข้าอู่ได้เร็วขึ้น  นอกจากนี้ยังช่วยลดภาวะการติดเชื้อของมดลูกได้อีกด้วยจากการศึกษายังพบว่า มารดาที..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
นมแม่เป็นบ่อเกิด เป็นแหล่งกำเนิดของสุขภาพที่ดีกว่าสำหรับลูกน้อยของเรา เพราะนมแม่เต็มไปด้วยสารอาหารนานัปประการ การให้นมแม่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่และลูก ทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคงในจิตใจสำหรับลูกน้อยในการเริ่มต้นชีวิตภายนอกครรภ์มารดาที่ทารกคุ้นเคยมาเกือบ 40 สัปดาห์ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโต และการเข้าสังคมของทารกเมื่อเติบโตขึ้นจากการวิจัยพบว่า ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่จะมีสุขภาพที่แข็งแรงกว่าทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมผง เนื่องจากทารกต้องใช้เวลาถึง 2 ปี ในการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ทารกที่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ได้รับประโยชน์จากสารอาหารต่าง ๆ ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
น้ำนมแม่แต่ละคน ได้ไม่เท่ากันนะคะ น้ำนมแม่แต่ละคน หรือคนเดียวกันในแต่ละวัน แต่ละช่วงอาจจะมีสีแตกต่างกันซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ถ้าเราเอาไปเทียบกับนมผสม ก็คงมีข้อให้สงสัยไม่ใช่น้อย เพราะนมผสมสีจะสม่ำเสมอทุกครั้งที่ชง แต่นมแม่ไม่ใช่ บางวันก็สีขุ่น บางวันก็ใส บางวันมีสีเจือ ๆ อีกต่างหากที่เป็นอย่างนั้นเพราะคนแม่ผลิตใหม่สดจากอกทุกวัน ดังนั้นสีของน้ำนมเลยแตกต่างกันไป ขึ้นกับอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน จริง ๆ หากลองชิมดูแม่ปูว่า รสชาตแต่ละวันก็แตกต่างกันนะคะ เพราะอาหารที่เราทานเข้าไปแต่ละวันไม่เหมือนกันเสียทีเดียวนมแม่ในช่วงวันแรก ๆ จะมีสีเหลืองเข้ม ๆ ที่เรียกว่า colostum ซึ่งถือว่าเป็นวัคซ..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
เพราะสรีระของคุณแม่แต่ละคนแตกต่าง  ขนาดกรวยสำหรับคุณแม่แต่ละคน จึงแตกต่างไปด้วย ขนาดกรวยที่ไม่เหมาะสม จะทำให้คุณแม่เกิดความเจ็บปวดในการปั๊ม ไม่มีความสุข ส่งผลกระทบกับปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ โดยทั่วไปเครื่องปั๊มนมทุกยี่ห้อ จะให้มาเฉพาะกรวยขนาดมาตรฐานเท่านั้น ซึ่งกรณีที่สรีระเต้านมของคุณแม่ไม่เหมาะสมกับขนาดมาตรฐาน คุณแม่มักไม่ทราบว่ามีกรวยขนาดใหญ่ที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ แต่จะรู้สึกว่าปั๊มนมที่ใช้อยู่นั้น ไม่ดี ปั๊มแล้วเจ็บ ไม่ได้น้ำนม???วิธีการพิจารณาว่ากรวยขนาดใดหมาะสมกับเรา?? ให้ดูจากหัวนมที่สัมผัสกับกรวย เวลาปั๊มแล้วหัวนมจะไม่คับจนเต็มกรวย หรือไม่หลวมจนเกินไป ตามภาพนะคะขนาดของกรวย..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
บทความบทนี้ได้รับอนุญาตให้นำมาลงเผยแพร่ได้จากเจ้าของบทความต้นฉบับคือคุณหมอ  Catherine Decker สำหรับตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อการศึกษา  ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้บทความต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ สามารถคัดลอกไปได้เลย ส่วนภาษาไทยหากต้องการนำไปเผยแพร่ขอความกรุณาติดต่อแม่ปู (ผู้แปล) ก่อนนะคะบทความนี้เสาะหามาสำหรับคุณแม่นักปั๊มทุกท่านค่ะ มีน้องที่น่ารักคนนึงส่งมาให้ ขอบคุณผู้ประสงค์ทำดี ไม่ประสงค์ออกนามมา ณ ที่นี้ค่ะ เรียนว่า วิธีการที่จะได้อ่านต่อไปนี้ ใช้ได้กับเครื่องปั๊มนม หรือกรวยเครื่องปั๊มนมทุกรุ่นนะคะ ลองเอาไปทำดู อาจจะต้องมีการปรับปรุง พัฒนาเล็กน้อยตามเทคนิคของแต่ละท่าน ถ้ามีเทคนิคดี ๆ อะไรแล้ว ก็เอา..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
สำหรับคุณแม่ที่ยังสงสัย ข้องใจ และไม่มั่นใจในปริมาณน้ำนมของตนเองว่า ตัวเองมีนมเพียงพอให้ลูกทานหรือไม่ หลายคนจิตตก วิตกกังวล ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะนมแม่ไม่ได้อยู่ในขวดใส ๆ ที่มีมาตรบอกปริมาณ เราจะได้รู้ว่ามีนมเท่าไร ในเต้าของเรา  จริง ๆ แล้ว เรื่องของนมแม่ง่ายกว่าที่กังวลกันมากมายนัก เริ่มที่ มั่นใจ เข้าใจ ง่าย ๆแค่นี้ นมแม่ก็พอเพียงจนน้องโต “นมแม่ ถ้าเข้าใจ ยังไงก็พอ” วิธีการดูว่าลูกน้อยได้น้ำนมเพียงพอหรือไม่ เรามีน้ำนมให้ลูกทานหรือไม่น้ำหนักขึ้นได้ตามปกตินอนหลับได้นานถ่ายปัสสาวะบ่อย สีของปัสสาวะไม่เหลืองเข้ม ไม่มีกลิ่นฉุนอุจจาระมีสีเหลืองทอง นิ่ม ไม่แข็ง น้องที่ทานนมแม่อาจจะถ่..
0 แสดงความเห็น - ดูความเห็น
แสดงผลตั้งแต่ 43 ถึง 56 รายการ จากทั้งหมด 77 รายการ (จำนวน 6 หน้า)